มรภ. ศรีสะเกษคว้ารางวัลค่ายดีเด่น เน้นปรับปรุงสาธารณูปโภค เศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายประเสริฐ ธำรงวิศว ผู้อำนวยการเขื่อนวชิราลงกรณ พร้อมนายประมุข ชวลี ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการสื่อสารองค์การ-สารสนเทศและผลิตสื่อ และนางฤดีมาส ปางพุฒิพงศ์ หัวหน้ากองพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ฝ่ายกิจการสังคม เป็นผู้แทน กฟผ.ในการจัดค่ายปัจฉิมนิเทศ โครงการ "กฟผ. เพาะเมล็ดพันธุ์จิตอาสาพัฒนาสังคม" รุ่น 7 (EGAT CSR CAMP 7) ณ เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี โดยมีนักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือก และลงมือปฏิบัติด้วยการออกค่ายพัฒนาสังคมจำนวน 20 ทีม พร้อมด้วยพี่เลี้ยงค่ายซึ่งเป็นรุ่นพี่จากค่ายรุ่น 1-6 จำนวน 120 คน ร่วมกิจกรรม โดย กฟผ.ได้นำผู้เข้าร่วมกิจกรรมเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ พร้อมจัด Work shop "การเคลื่อนไหวของความสงบ" กิจกรรมเสวนา "ยาระบาย" การบรรยาย "พลังของความเชื่อ" กิจกรรมชีววิถี กิจกรรม walk rally และการนำเสนอโครงการเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ที่ได้รับจากการไปทำค่ายอาสา และพัฒนาการทำงานเป็นทีม
����� นายประมุข ชวลี ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการสื่อสารองค์การ-สารสนเทศและผลิตสื่อ กฟผ. เปิดเผยว่า โครงการ กฟผ. เพาะเมล็ดพันธุ์จิตอาสาพัฒนาสังคม จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 แล้ว โดยมีกิจกรรมที่จัดไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 140 โครงการ มีจิตอาสาที่ได้เข้าร่วมโครงการจาก สถานศึกษาทั่วประเทศกว่า 1,700 คนและได้รับการตอบรับอย่างดีจากทั้งนักศึกษาที่มีจิตอาสา ต้องการทำเพื่อสังคม และจากชุมชนที่จัดกิจกรรมขึ้น บรรลุวัตถุประสงค์ของ กฟผ. ที่ต้องการส่งเสริมการสร้างคนรุ่นใหม่ ให้มีจิตสาธารณะ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม สนับสนุนส่งเสริมให้เยาวชน "คิดดี ทำดี" เพื่อประโยชน์แก่สังคมและชุมชน นอกจากนี้ ยังเกิดทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ฝึกประสบการณ์แก้ปัญหาเฉพาะหน้าและความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว อันเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้ภารกิจสัมฤทธิ์ผลอีกด้วย
����� สำหรับผู้ได้รับรางวัลค่ายดีเด่น อันดับ 1 ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (มรภ.ศรีสะเกษ) จาก โครงการราชภัฏร่วมใจอาสาพัฒนาท้องถิ่น "แสงสว่างนำทางจิตอาสาพัฒนาสังคมปี 5" ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงเรียนบ้านดอนชี ต.คันไร่ อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี โดยมีจุดเด่นที่การบูรณาการการสร้างแหล่ง ชีววิถีเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งการสร้างแปลงปลูกผัก บ่อเลี้ยงปลา และคอนโดกบให้กับชุมชน ควบคู่ไปกับการบูรณะ-พัฒนาสาธารณูปโภคของชุมชน ได้แก่ การสร้างห้องน้ำ สนามเปตอง ปรับปรุงกำแพงวัด ทำเก้าอี้อเนกประสงค์ การอบรมชีววิถีให้กับคนในชุมชน และการพัฒนาความสัมพันธ์ของคนในชุมชนให้มีความเข้มแข็งรักใคร่สามัคคีกันและมีความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มนักศึกษาที่มาออกค่าย เพื่อให้กิจกรรมประสบความสำเร็จ อย่างกิจกรรม พ่อฮักแม่ฮัก และกิจกรรมพาแลงที่เปิดโอกาสให้คนทั้งชุมชนและนักศึกษาได้ร่วมรับประทานอาหารและมีกิจกรรมร่วมกัน